มาต่อกันตอนที่ 2 กันนะคะกับ ถามตอบคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุกับเครื่องพิมพ์ดิจิทัลออฟเซต คราวนี้จะมาในแนวงานเฉพาะทางบ้างค่ะว่ามีอะไรบ้าง และจะเลือกใช้กันอย่างไร เผื่อเพื่อน ๆ ท่านไหนมีคำถามใกล้เคียงกันจะได้เอาไปเป็นไอเดียใช้ได้เหมือนกันค่ะ 😀

สำหรับท่านไหนที่ยังไม่ได้ติดตามตอนที่ 1 สามารถตามไปอ่านก่อนได้ที่ลิงค์นี้เลยค่ะ

คน มีคำถาม กระดาษ ดิจิตอล เครื่องพิมพ์ dry toner konica

Q: มีกระดาษฉีกไม่ขาดและกันน้ำได้หรือเปล่า

A: ถ้าพูดถึงกระดาษที่ฉีกไม่ขาดหรือฉีกขาดยาก และกันน้ำด้วย คนในงานพิมพ์ส่วนใหญ่ มักจะเรียกกันว่า Synthetic Paper หรือกระดาษสังเคราะห์ กระดาษสังเคราะห์มีคุณสมบัติเด่น คือ กันน้ำ ฉีกขาดยาก และทนความร้อน โดยวัสดุประเภทนี้จะไม่มีส่วนผสมของเยื่อกระดาษเลยค่ะ ทำให้มีผิวเรียบ ไร้ฝุ่น สินค้าประเภทนี้ก็นิยมใช้กันมากสำหรับการพิมพ์ด้วยระบบดิจิทัลออฟเซทค่ะปัจจุบัน ทางบริษัทฯ มีการนำเข้าวัสดุกลุ่มกระดาษสังเคราะห์ เข้ามา 2 ประเภทค่ะ

1. แผ่นฟิล์มพลาสติก PET (Polyplex) 

แผ่นฟิล์มพลาสติก PET แบรนด์ Polyplex หรือบางคนเรียกว่ากระดาษ PET มีหลายแบบ หลายลักษณะให้เลือกใช้ เช่น สีขาว (คล้ายกระดาษ) สีขาวขุ่นคล้ายกระดาษไข สีใส สีเมทาลิค (เหลือบชมพู เหลือบเงิน และเหลือบทอง) และมีหลายความหนาเช่นเดียวกับกระดาษค่ะ ตัวอย่างเช่น

115 ไมครอน

ความหนานี้ถือว่าเป็นความหนาที่บางที่สุดที่มีจำหน่าย เหมาะสำหรับนำไปใช้พิมพ์ ป้ายวิ่ง (BIB งานวิ่ง) ริสแบนด์ แบงค์กาโม่ ก็ได้ค่ะ เพราะจะค่อนข้างบางและฉีกขาดยาก

125 ไมครอน

เหมาะสำหรับพิมพ์ เนื้อในของหนังสือ เช่น เมนูอาหาร เนื่องจากจะมีความหนาขึ้นมาอีกสักเล็กน้อย ไม่ถึงกับนิ่มจนเกินไป

200, 250 ไมครอน

เหมาะสำหรับทำ นามบัตร แท็กป้ายชื่อ ป้ายชื่อต้นไม้ ป้ายราคาสินค้าในตู้เย็น สำหรับนามบัตรนี่ต้องบอกว่าเหมาะมากนะคะ ถ้าใครต้องการให้ดูลุคโมเดิร์น ล้ำ ๆ หน่อย หรือแนวมินิมอล เนื่องจากความเรียบลื่นของตัววัสดุ จะเหมาะมากกับลุคนี้ค่ะ

275 ไมครอน

เหมาะสำหรับทำ บัตรนักเรียน บัตรพนักงาน บัตรสะสมแต้ม 

2. กระดาษสังเคราะห์ไทเวค (Tyvek)

กระดาษสังเคราะห์ไทเวค (Tyvek) หรือกระดาษไทเวคผลิตจากพลาสติกชนิด HDPE 100% โดยนำ HDPE มาทำเป็นเส้นใย แล้วอัดปั่นขึ้นรูปคล้ายกระดาษ ลักษณะผิวของวัสดุไทเวค จะคล้ายกับกระดาษสา มีความหนาและทึบ แต่ละจุดไม่เท่ากันขึ้นกับความหนาแน่นของเส้นใยที่อัดอยู่ ทนอุณหภูมิได้ 125-135 องศาเซลเซียส สามารถพิมพ์ได้หลายระบบ เช่น ระบบออฟเซต สกรีน เฟล็กโซ กราฟเวีย ระบบอิงค์เจ็ท (Hi-Speed, UV, Latex) และระบบดิจิทัลออฟเซต (HP Indigo, Ricoh C7100, C7200)

การที่กระดาษไทเวคทำมาจากเส้นใย จึงมีคุณสมบัติที่ทำให้อากาศสามารถผ่านเข้า-ออกได้ แต่กันน้ำ ทนสารเคมี กันยูวี ฉีกขาดยาก น้ำหนักเบา ทนทาน ตัดเย็บได้ เก็บรักษาได้ยาวนาน พิมพ์งานได้สองหน้า และรีไซเคิลได้ 100%

คุณสมบัติที่โดดเด่นของวัสดุไทเวค จึงเหมาะนำไปทำผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายตามจินตนาการ
เช่น นำไปทำเสื้อ ม่านบังแดด พัดพับ กระเป๋า ริสแบนด์ BIB งานวิ่ง หมวก ร่ม รองเท้า กระถางต้นไม้ ถุงห่อปกป้องงานศิลปะ ห่อภาพ ห่อเครื่องปั้น แผนที่ ซองพัสดุ ซองซีดี ใช้คลุมดินทางการเกษตร แบนเนอร์ ไวนิล ธงราว ป้ายสินค้า ฯลฯ

เอาเป็นว่าเด่น ๆ ที่เห็นกันบ่อยที่สุดคือ BIB งานวิ่ง และ ริสแบนด์ตามงานอีเวนท์ต่าง ๆ ค่ะ วัสดุที่ใช้ส่วนมากก็กระดาษไทเวคทั้งนั้นเลย กระดาษไทเวคที่จำหน่ายมี 2 ลักษณะ คือ

  • แบบแข็ง คล้ายกระดาษ มีความหนา 140, 160, 205, 270 ไมครอน
  • แบบนิ่ม คล้ายผ้า มีความหนา 150 ไมครอน

Q: ต้องการทำโฟโต้บุ็ค (Photobook) มีกระดาษที่พิมพ์สวย ๆ เหมาะสำหรับพิมพ์ภาพถ่ายไหม

A: วัสดุทำโฟโต้บุ็คสำหรับระบบการพิมพ์ดิจิทัลออฟเซต บริษัทฯ มีให้เลือกค่อนข้างหลากหลายแล้วแค่ความต้องการของลูกค้าค่ะ ทั้งนี้จะขอแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม 3 ตัว ดังนี้ค่ะ

1. กระดาษ Moorim Pro-Digital Renior

สำหรับกระดาษตัวนี้จะเป็นกระดาษรุ่นสูงสุดของโรงงานมูริม (Moorim Paper) จากประเทศเกาหลี ที่มีการเคลือบสารพิเศษที่ผิวหน้ากระดาษ ทำให้ผิวสัมผัสของกระดาษมีความพิเศษ เรียบเนียนประดุจดังผืนผ้าไหม เมื่อมีการพิมพ์สี จะมีความมันเหลือบเป็นประกาย ดึงสีให้ดูสวยสด มีชีวิตชีวา เหมาะสำหรับงานโฟโต้บุ็ค (Photobook) หรือพิมพ์งานภาพวาด ภาพศิลปะ

กระดาษ Moorim Pro-Digital Renior จะมีให้เลือกด้วยกัน 2 รุ่น ไม่รวมรุ่นอัดลาย คือ รุ่น Moorim Pro-Digital Extra White ซึ่งจะมีความขาวเป็นพิเศษและ Moorim Pro-Digital Neutral White ซึ่งจะมีสีโทนอุ่น อมงาช้าง และมีน้ำหนักกระดาษให้เลือกอย่างหลากหลายตั้งแต่ 105 – 260 แกรม อย่างไรก็ดี กระดาษตัวนี้ก็ยังมีคุณสมบัติทั่วไปเหมือนกระดาษ นั่นคือ ฉีกขาดและโดนน้ำไม่ได้นะคะ

2. แผ่นพลาสติก Polyplex

แผ่นพลาสติก Polyplex ด้วยคุณสมบัติเด่นที่มีความเรียบลื่น ไร้ฝุ่น สามารถให้งานพิมพ์คุณภาพสูง กันน้ำ และฉีกขาดได้ยาก แผ่นพลาสติก Polyplex จึงเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ไม่สามารถมองข้ามได้ในการนำมาพิมพ์งานโฟโต้บุ็ค นอกจากนี้ แผ่นพลาสติก Polyplex ยังมีรุ่นที่เป็นสีเมทาลิคเหลือบสีต่าง ๆ ทั้งเหลือบชมพู เหลือบทอง หรือเหลือบเงิน ทำให้เราสามารถรังสรรค์งานโฟโต้บุ็คให้เป็นสมุดภาพสุดพิเศษไม่เหมือนใคร ดูพรีเมี่ยมเหมาะกับการเก็บความทรงจำสุดพิเศษสำหรับใครหลาย ๆ คน

3. กระดาษ E-Photo Felix Schoeller

ถ้าวัสดุ 2 ตัวแรกที่เรานำเสนอยังไม่ตอบโจทย์โฟโต้บุ็คคุณภาพพรีเมี่ยม ตอนนี้เรามีกระดาษ E-Photo จากโรงงาน Felix Schoeller ประเทศเยอรมนี เป็นกระดาษสำหรับพิมพ์ภาพด้วยระบบดิจิทัลออฟเซท คุณภาพสูงโดยเฉพาะ ที่ให้ภาพสวยสดเทียบเท่ากระดาษอัดภาพ สามารถเก็บรักษาได้ยาวนาน ป้องกันน้ำ และพับได้ไม่เกิดรอบแตก 

กระดาษ E-Photo Felix Schoeller เป็นกระดาษคุณภาพสูง เคลือบเรซินชนิด PE (Polyethylene) และ Primer ด้วยกระบวนการพิเศษทั้งสองด้าน มีความยืดหยุ่นคล้ายฟิล์มสังเคราะห์ เทคโนโลยีนี้จะมาช่วยลดปัญหาต่าง ๆ จากการนำกระดาษไปเคลือบแบบปกติทั่วไป กระดาษ E-Photo ยังมีข้อดีอีกมากมาย ที่ส่วนใหญ่แล้วจะพบได้ในฟิล์มสังเคราะห์ระดับพรีเมี่ยมเท่านั้น เช่น คุณสมบัติกันน้ำ/กันฝุ่นผง เช็คทำความสะอาดได้ด้วยแอลกอฮอล์ พับได้โดยไม่เกิดรอยแตกขาว (ไม่ต้องเคลือบหรือตีเส้นพับ) ให้งานพิมพ์สีสดใส คมชัดเทียบเท่ากระดาษอัดภาพ มีอายุการใช้งานยาวนาน และเมื่อเทียบกับฟิล์มแล้ว มีอัตราส่วนราคา/ประสิทธิภาพที่น่าดึงดูดใจ

โดยปัจจุบัน บริษัทฯ มีสินค้านำเข้ามี 2 รูปแบบดังนี้ค่ะ

  • แบบเงา (Lustre) มีน้ำหนัก 135, 290 แกรม
  • แบบด้าน (Matt) มีน้ำหนัก 260 แกรม

สำหรับท่านไหนอ่านแล้วยังไม่เห็นภาพ หรือยังไม่แน่ใจ สามารถติดต่อเข้ามาพูดคุยหรือขอตัวอย่างไปทดสอบกันก่อนได้นะคะ ทาง อี.พี.ซี. ยินดีให้คำปรึกษาตลอดค่ะ

Related Posts